top of page
ค้นหา

แพ้ถั่ว มีอาการอย่างไร รู้ได้อย่างไรว่าลูกของเราแพ้ถั่ว จัดการทำยังไง?

แพ้ถั่ว อาการที่มักจะเกิดขึ้นกับเด็ก หรือผู้ใหญ่หลาย ๆ คน ทำให้เกิดอาการแพ้ และมีปฏิกิริยาตอบสนองทางร่างกายที่แตกต่างกันออกไป มาดูกันดีกว่าค่ะว่า แพ้ถั่ว นั้นจะมีอาการอะไรเกิดขึ้นบ้าง และเราจะรู้ได้อย่างไรว่าลูกของเราแพ้ถั่วหรือไม่ พร้อมกับวิธีรับมือเมื่อพบว่าลูกของเรานั้นมีอาการแพ้ ไปดูกัน


การแพ้อาหาร คืออะไร?

การแพ้อาหารมักจะเกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของตัวบุคคลนั้น ๆ ทำปฏิกิริยาตอบสนองกับอาหารที่ทานเข้าไปอย่างไม่เหมาะสม ขั้นตอนแรกของกระบวนการที่เรียกว่าการแพ้นั้นจะเริ่มจาก ร่างกายของคุณในส่วนของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะทำการบันทึกไว้ว่าอาหารใดเป็นภัยคุกคามต่อร่างกายของคุณ และร่างกายจะสร้างแอนติบอดีขึ้นมาเพื่อป้องกันร่างกายของคุณจากอาหารเหล่านั้น และกระตุ้นให้ร่างกายปล่อยสารบางอย่าง เช่น ฮีสตามีน ที่ส่งผลทำให้เกิดปฏิกิริยาแพ้นั่นเอง



ทราบได้อย่างไรว่า ลูกแพ้ถั่ว ?

การวินิจฉัยของแพทย์ว่าลูกน้อยของคุณมีอาการแพ้ถั่วหรือไม่นั้นจะต้องเป็นไปตามขั้นตอนแรกมีการตรวจอย่างละเอียด เพื่อให้แน่ในใจว่าทารกนั้นไม่ได้มีอาการแพ้ส่วนผสมอื่นในอาหารเพิ่มเติม หรือไม่ได้เป็นอาการแพ้ที่เกิดจากการแพ้อาหาร โดยการวินิจฉัยของอาการแพ้ถั่ว มีดังต่อไปนี้

1. สอบประวัติ

การสอบประวัติไม่ว่าจะเป็นการประวัติการรักษาอาการแพ้ หรือประวัติของครอบครัวนั้นถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญ เพราะทารกบางคนอาจเคยมีประวัติการแพ้ในอดีต หรือมีสมาชิกภายในครอบครัวที่มีอาการแพ้อาหารชนิดเดียวกัน ซึ่งอาจทำให้การสรุปเป็นไปได้ง่ายขึ้น

2. ตรวจร่างกาย

เมื่อซักประวัติแล้วแพทย์จะทำการตรวจตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายไม่ว่าจะเป็น ตรวจหู ตา จมูก ลำคอทั้งด้านนอก และด้านใน หน้าอก และผิวหนังของทารก และนอกจากนี้ยังมีการตรวจการทำงานของปอด และการเอกซเรย์ปอด หรือไซนัส เพื่อให้แน่ใจว่าเป็นการแพ้ที่เกิดจากอาหาร ไม่ใช้อาการจากภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ

3. การทดสอบการงดอาหาร

หลังจากตรวจสอบแล้วมีแนวโน้มที่ทารกจะเกิดอาการแพ้ถั่ว แพทย์จะทำการสั่ง หรือขอความร่วมมือให้ผู้ปกครองงดเว้นอาหารที่มีส่วนประกอบของถั่วไปก่อน ในช่วงเวลาที่แพทย์กำหนด

4. การทดสอบที่ผิวหนัง

แพทย์บางท่านอาจมีการทดสอบทารกของคุณด้วยการทดสอบการแพ้ถั่วด้วยการนำส่วนผสมที่คาดว่าน่าจะแพ้ทิ่มลงไปบนผิวหนังของทารก เพื่อทดสอบอาการแพ้ แต่ทั้งนี้การทดสอบการแพ้ถั่วมักไม่เป็นที่นิยมมากนัก เพราะว่าอาจส่งผลทำให้เกิดการแพ้อย่างรุนแรง และเป็นอันตรายถึงชีวิตได้



แพ้ถั่ว สามารถเกิดขึ้นกับการทานถั่วชนิดใดบ้าง?

อาการแพ้ถั่วนั้นมักจะเกิดขึ้นได้ง่ายกว่าอาการแพ้อื่น ๆ และส่วนใหญ่มักจะเริ่มรู้ว่าทารกแพ้ถั่วหลังจากที่พวกเขาเริ่มหย่านม หรือเริ่มรับประทานอาหารที่แข็งได้แล้ว โดยคนทั่วไปนั้นสามารถแพ้ถั่วได้มากกว่า 1 ชนิด โดยถั่วที่คนส่วนใหญ่มักเกิดอาการแพ้ มีดังต่อไปนี้

  • ถั่วลิสง

ถั่วลิสง นั้นเป็นถั่วชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการแพ้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็ก และจะพบว่ามีปฏิกิริยาที่รุนแรงกว่าถั่วอื่น ๆ ซึ่งการได้รับปริมาณถั่วลิสงเพียงเล็กน้อยในผู้ที่มีอาการแพ้ถั่วลิสงก็อาจทำให้เกิดปฏิกิริยารุนแรงที่อาจถึงแก่ชีวิตได้ ทั้งนี้จากการวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่าหากทารกที่มีอาการแพ้ถั่วลิสงนั้น มักจะไม่มีปฏิกิริยา หรืออาการแพ้ถั่วอื่นเพิ่มเติม

  • ถั่วเหลือง

การแพ้ถั่วเหลืองนั้นเป็นเรื่องปกติมากที่สามารถหาได้ทั่วทุกมุมโลก พบว่าอาการแพ้นมถั่วเหลืองนั้นมีมากกว่าการแพ้นมวัว ไข่ ถั่วลิสง และปลา เป็นต้น ซึ่งอาการแพ้ถั่วเหลืองจะไม่รุนแรงเท่ากับการแพ้ถั่วชนิดอื่น โดยปฏิกิริยาส่วนใหญ่ของร่างกายที่มีต่อถั่วเหลืองนั้นจะเกี่ยวข้องกับบางส่วนของร่างกายเท่านั้น อาทิ ลมพิษบนผิวหนัง หรือมีอาการบวมในปาก เป็นต้น


อาการแพ้ถั่วในทารกมีอะไรบ้าง?

อาการของโรคภูมิแพ้ถั่วจะแตกต่างกันไปในทารกแต่ละคน สำหรับทารกบางคนอาจมีอาการไม่รุนแรงมากนัก แต่สำหรับบางคนอาจมีอาการที่รุนแรง โดยมีรายละเอียดต่อไปนี้

  • อาการแพ้ส่งผลกระทบต่อผิวหนังส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย โดยจะขึ้นเป็นผื่นบวมแดง และถ้าหากมีอาการที่รุนแรงจะเกิดเป็นผื่นลมพิษได้

  • รู้สึกไม่สบายตัว หรือมีอาการคันในปาก ลำคอ ริมฝีปาก หรือทั่วใบหน้า

  • ปวดท้อง เหมือนท้องเสีย หรือมีอาการคล้ายลำไส้บีบตัว

  • อาเจียน และไอ

  • หายใจมีเสียงดังฮืด ๆ

  • หายใจลำบาก และอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มมากขึ้น

  • เกิดภูมิแพ้อย่างรุนแรง หรือ Anaphylaxis ซึ่งทำให้หายใจไม่ออก และหายใจลำบาก


ลูกแพ้ถั่ว ทำอย่างไรดี?

การจัดการกับโรคแพ้ถั่ว หรือการลดความรุนแรงของอาการนั้นสามารถทำได้ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่จะต้องทำอย่างถูกวิธี หรือทำตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น โดยเบื้องต้นสามารถช่วยลูกได้ดังต่อไปนี้

  • ใช้น้ำเกลือล้าง

หากลูกน้อยของคุณมีอาการคันจมูกเนื่องจากอาการแพ้ การล้างสวนจมูกอาจช่วยบรรเทาอาการคันได้ แต่คุณพ่อคุณแม่จะต้องไปเรียนรู้วิธีการ และปริมาณน้ำเหลือที่จะใช้จากแพทย์ก่อน เพื่อความปลอดภัยของทารก

  • ทาครีม หรือใช้คอร์ติโคสเตียรอยด์

เนื่องจากอาการแพ้ถั่วที่ไม่รุนแรงนั้นมักจะมีแค่เพียงการระคายเคืองทางร่างกายที่อาจทำให้เกิดผื่นแดงขึ้นตามร่างกายของทารก ดังนั้นจะใช้ครีม หรือคอร์ติโคสเตียรอยด์ที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบทาบริเวณที่เกิดผื่นขึ้นนั้นจะทำให้บรรเทาอาการลมพิษ และผดผื่นได้

  • ยาแก้แพ้

อีกหนึ่งตัวช่วยที่ได้ผลชะงัด แต่ก็อันตรายมากมาย โดยยาในกลุ่มยาแก้แพ้นั้นจะช่วยให้อาการจาม อาการคัน อาการน้ำมูกไหล และลมพิษเบาลงได้ แต่ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับยาที่ควรใช้สำหรับเด็กเล็ก และการรับประทานที่ถูกต้อง เพื่อยับยั้งอาการดังกล่าว

  • การใช้คอร์ติโคสเตียรอยด์ทางจมูก

การฉีดพ่นสเปรย์คอร์ติโคสเตียรอยด์เข้าไปทางจมูกของทารกนั้น เพื่อช่วยบรรเทาอาการแพ้ทางจมูกได้เป็นอย่างดี โดยทั่วไปแล้วจะช่วยบรรเทาอาการบวมที่อาจเกิดจากการที่น้ำมูกไหล และคันอย่างต่อเนื่อง

แต่ถึงอย่างไรก็ตามจากวิธีการข้างต้นนั้น คุณไม่ควรให้ยาภูมิแพ้ หรือทำการกระทำใด ๆ ด้วยตนเองโดยไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์เป็นอันขาด เพราะแพทย์นั้นจะคำนึงถึงอายุของทารก ความรุนแรงของอาการ และสุขภาพด้านอื่น ๆ ของทารกเพื่อทำการรักษาด้วย ซึ่งจะปลอดภัยมากกว่าการที่คุณตัดสินเองว่าทารกของคุณควรให้ยาอะไร และปฏิบัติอย่างไรในช่วงที่มีอาการ



สามารถป้องกันลูกจากการแพ้ถั่วได้หรือไม่

การหลีกเลี่ยงอาการแพ้ถั่วนั้นไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด เพราะว่าถ้าหากคุณมั่นสังเกต และใส่ใจในการเลือกอาการที่จะให้แก้ทารกแล้วนั้นก็สามารถหลีกเลี่ยงอาการแพ้ถั่วได้เป็นอย่างดี โดยสามารถป้องกันลูกน้อยของคุณจากอาการแพ้ถั่วได้ง่าย ๆ ดังต่อไปนี้

  • หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้

ถ้าเป็นไปได้ คุณควรให้ทารกห่างไกลจากถั่วมากที่สุด หรือเท่าที่จะทำได้ หรือถ้าหากทารกแพ้ถั่วแค่บางชนิด คุณก็สามารถนำถั่วอื่น ๆ มาประกอบอาหารให้แก้พวกเขาได้ ถ้าหากพกเขาไม่เกิดอาการแพ้ หรือคุณสามารถเข้าพูดคุยกับนักโภชนาการ หรือปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาอาหารที่ดีที่สุด เพื่อมาทดแทนถั่วในอาหารของทารกได้

  • ตรวจสอบฉลาก

ถั่วมักจะถูกใส่ลงไปในอาหารมากมาย ไม่ว่าจะเป็นอาหารสด อาการกึ่งสำเร็จรูป และอาหารสำเร็จรูป ซึ่งในบางครั้งคุณอาจนึกไม่ถึง ดังนั้นการที่คุณซื้ออาหารมาจากนอกบ้าน หรือผลิตภัณฑ์สะดวกทานมาจากซูเปอร์มาร์เก็ตควรตรวจสอบส่วนผสมในฉลากให้เป็นอย่างดี เพราะในอาการอาจพบสารก่อให้เกิดภูมิแพ้แก่ทารกได้

  • พยายามทำอาหารทานเอง

การเลือกทำอาหารทานเองที่บ้าน เป็นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภูมิแพ้ถั่วได้มากถึง 80 เปอร์เซ็นต์ แต่ถึงอย่างไรคุณก็ควรตรวจสอบฉลากให้เป็นอย่างดี และมั่นใจว่าอาหารนั้นปลอดภัย หรือไม่ก็เลือกเมนูอื่นที่ทำจากผักสด ผลไม้สด เป็นต้น เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดอาการ

ในทางกลับกันที่คุณพ่อคุณแม่ที่กำลังเป็นกังวลในเรื่องของอาการแพ้ของทารก แต่ส่วนใหญ่แล้ว ทารกจะมีการเติบโตมากกว่าอาการแพ้เสียอีก แต่ถึงอย่างไรก็ตามคุณพ่อคุณแม่ก็ยังจะต้องระวังอยู่ตลอดเวลา เพราะว่าอาจทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนขึ้นได้


เป็นอย่างไรบ้างคะกับอาการแพ้ถั่วในเด็ก ถึงแม้ว่าอาการของแต่ละคนจะแตกต่างกันออกไปก็อย่านิ่งนอนใจไปนะคะ เพราะอาการแพ้สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ทั้งนี้การจัดการกับอาการแพ้ในระยะยาวนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ได้ยาก เพราะว่ามีอาหารอีกมากมายที่จะสามารถทดแทนถั่วได้ โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถสอบถามแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอคำแนะนำได้นะคะ


ดู 15 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page