top of page
ค้นหา

เตือน ไวรัส RSV ระบาดหนักกว่าโควิด เด็กป่วยแน่น รพ. อาการคล้ายไข้หวัด



ช่วงนี้คนไข้เด็กทั่วประเทศทั้ง รพ.รัฐ-เอกชน คลินิก รพ.สต. ป่วยด้วยไข้หวัด หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบจากเชื้อไวรัส RSV (อาร์เอสวี) เยอะมากๆ แน่นทุก รพ. โดยมีอาการ ไข้ ไอ เสมหะ น้ำมูก บางรายอาการหนักมีหอบเหนื่อย หายใจมีเสียงหวีด ซึ่งมีหลักการมี 3 S ได้แก่

  • Swelling หลอดลมบวม ตีบแคบ ทำให้หายใจหอบเหนื่อย ลมเข้าปอดได้ แต่ออกลำบาก เด็กจึงต้องหายใจเร็วและแรง ใช้กล้ามเนื้อกระบังลมช่วยหายใจ

  • Spasm หลอดลมไวและตีบได้ ไวต่อสิ่งกระตุ้น

  • Secretion สารคัดหลั่งในหลอดลมมาก และอุดหลอดลม หายใจลำบาก ต้องดูดเสมหะช่วย บางรายรุนแรง เขียว หายใจล้มเหลว ต้องให้ออกซิเจน หรือใส่ท่อช่วยหายใจใน ICU

กลุ่มเสี่ยง

  • เด็กเล็กอายุน้อยกว่า 5 ปี ยิ่งอายุน้อยยิ่งรุนแรง

  • คลอดก่อนกำหนด

  • มีโรคประจำตัวเช่น ปอด หัวใจ

จากแต่เดิมเมื่อเข้าสู่หน้าฝนและหน้าหนาวจะมีเด็กๆ ป่วยด้วยลักษณะแน่นหน้าอก หายใจไม่ออก แต่ปัจจุบันนี้เทคโนโลยีวิวัฒนาการสมัยใหม่ทำให้เราแยกอาการอาร์เอสวี (RSV) ออกจากโรคหวัดทั่วไป โรคอาร์เอสวีมีสาเหตุจากไวรัสที่มีชื่อเต็มว่า Respiratory Syncytial Virus ส่งผลให้เด็กป่วยด้วยอาการหลอดลมอักเสบรุนแรง


อาการอาร์เอสวี (RSV) เป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้ เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกเป็นหนัก


อาการอาร์เอสวี (RSV) พบว่ารุนแรงในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี แม้ว่าผู้ใหญ่อย่างเราก็ติดได้ แต่อาการจะไม่หนักมาก เด็กเล็กมักจะมาหาหมอด้วยอาการอาร์เอสวีอย่างน้อยคนละ 1 ครั้ง ซึ่งโรคนี้ยังไม่มีวัคซีนรักษา แต่ต้องระวังตัวป้องกันการไอจามรดกัน


10 อาการอาร์เอสวี (RSV) 



ไวรัสอาร์เอสวี (RSV) มีระยะฟักตัวประมาณ 5 วัน หลังจากรับเชื้อ เกิดจากการรับเชื้อที่แพร่กระจายผ่านสารคัดหลั่ง คือ น้ำมูก น้ำลาย ละอองฝอย ทั้งการสัมผัสกับผู้ป่วยมาโดยตรง หรือการเล่น จับสิ่งของเดียวกัน ผู้ที่เคยป่วยด้วยโรคอาร์เอสวีนี้สามารถกลับมาติดเชื้อซ้ำได้หลายครั้ง ดังนั้นต้องรีบสังเกตอาการเพื่อไม่ให้เป็นหนัก

2-4 วันแรกอาการคล้ายไข้หวัด

ในช่วง 2-4 วันแรกๆ ที่รับเชื้ออาร์เอสวี (RSV) ผ่านเข้าร่างกาย ทางจมูก ปาก เยื่อบุดวงตา จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการครั่นเนื้อครั่นตัว คล้ายไข้หวัดธรรมดา

มีน้ำมูกใส

ในช่วงวันแรกๆ ผู้ป่วยมักมีน้ำมูกใส

มีไข้

ในช่วงนี้เด็กจะตัวรุมๆ ควรสวมเสื้อผ้าให้ความอบอุ่น และเช็ดตัว พาไปพบแพทย์



แน่นหน้าอก หายใจลำบาก มีเสียงวี้ด

เมื่อผ่านไปหลายวันการหายใจเริ่มลำบากขึ้น หากสังเกตฟังจะได้ยินเสียงวี้ด และเด็กดูไม่สบายตัว คุณหมอจะแนะนำให้ล้างจมูก

หลอดลมอักเสบ

เมื่อผ่านไปหลายวันแล้ว อาการหายใจลำบากเป็นหนักขึ้น เกิดติดเชื้อในทางเดินหายใจทั้งส่วนบนและส่วนล่าง คุณหมอจะแนะนำให้พ่นยา ควบคู่ไปกับการรับประทานยา



ไอ

อาการไอของเด็กเป็นสิ่งที่พ่อแม่ฟังแล้วทรมานหัวใจ เสียงไอของเด็กจะเป็นไปในลักษณะเหมือนต้องการขับเสมหะ หากไม่ดีขึ้นควรไปพบแพทย์

ปอดบวม

เมื่ออาการหลอดลมอักเสบ และปอดอักเสบไม่ดีขึ้น มีโอกาสเกิดความผิดปกตินำไปสู่อาการปอดบวม อันตรายต่อเด็กที่มีโรคประจำตัวเรื้อรังอย่างโรคปอด โรคหัวใจ และทารกคลอดก่อนกำหนด

หน้าอกบุ๋ม

เมื่อเด็กได้รับออกซิเจนได้น้อย หายใจลำบากมาก ช่วงอกจะดูบุ๋มไป ซึ่งคุณแพทย์จะเป็นผู้พิจารณา

ดื่มนม หรือรับประทานอาหารได้น้อย

เด็กจะมีอาการกระสับกระส่าย ไม่อยากอาหาร ดูทรมาน หากช่วงวัยที่กำลังเติบโตรับประทานอาหารได้น้อยก็จะส่งผลต่อน้ำหนักต่อเกณฑ์ตามวัย หากป่วยเป็นระยะเวลานานอาจมีผลต่อพัฒนาการช้ากว่าวัยที่ควรจะเป็น

ทางเดินหายใจล้มเหลว

เกิดจากการนำส่งโรงพยาบาลช้า นำไปสู่การเสียชีวิต


กุมารแพทย์ทารกแรกเกิดท่านหนึ่ง เคยให้ข้อมูลเรื่องโรค RSV ในเด็ก ไว้ว่า เชื้อไวรัส RSV นี้ มักระบาดในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว จากการไอจามรดกันเหมือนไข้หวัด โดยมีกลุ่มเสี่ยงคือ

  • เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี เพราะพวกเขามีระบบทางเดินหายใจส่วนบทตั้งแต่จมูกถึงปอดสั้นมาก จึงทำให้เชื้อไวรัส RSV เดินทางได้เร็ว นอกจากเด็กเล็ก

  • ผู้ป่วยโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง

  • คนชรา

ในส่วนกลุ่มเด็กโตและผู้ใหญ่จะมีอาการไม่รุนแรง แต่ในกลุ่มเด็กที่เสียชีวิตจาก RSV เกิดขึ้นได้ไม่มาก หากเชื้อไวรัสทำลายเยื่อบุทางเดินหายใจจนถึงขั้นปอดอักเสบ จะส่งผลให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียมากขึ้น น้องจะมีอาการหอบ ไอ รุนแรงจนต้องรักษาในห้องไอซียูด้วยเครื่องช่วยหายใจ กรณีผู้ป่วยเป็นทารกอายุน้อยๆ ที่ถึงขั้นเสียชีวิต มาจากสาเหตุจากระบบทางเดินหายใจล้มเหลว หรือมาส่งโรงพยาบาลช้าไป หากอาการไม่รุนแรง มีไข้ ไอ น้ำมูก 3 วันกินยาแล้วไม่หาย ช่วงวันที่ 4 จะอันตรายต้องมีแพทย์ดูแลอย่างใกล้ชิด หากรักษาถูกวิธีอาการป่วยจะดีขึ้นในวันที่ 7-9 เพราะฉะนั้นแล้ว หากลูกหลานมีไข้ ไอ จาม คุณพ่อคุณแม่ต้องสังเกต และรีบพาน้องไปหาหมอ หลังจากได้รับคำแนะนำจากคุณหมอแล้วก็ต้องป้อนยาและแยกน้องจากคนอื่นๆ ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดน้องต้องสวมหน้ากากอนามัย ดูแลเรื่องการสัมผัส



การป้องกันที่พอจะช่วยได้

1. หลีกเลี่ยงไปชุมชนคนเยอะ หรือเลี่ยงการอยู่ใกล้ผู้ใหญ่ และเด็กที่ป่วย ถ้าป่วยต้องอยู่บ้าน หยุดเรียน พบแพทย์ 2. วัคซีนโรคอื่นๆ ที่ป้องกันพบร่วมได้ เช่น ไข้หวัดใหญ่ วัคซีนไอพีดี เป็นทางเลือกสามารถฉีดได้ 3. รักษาความอบอุ่นของร่างกาย ช่วงนี้อาการเย็น หนาว ไวรัสชอบ 4. คนมีโรคประจำตัว เช่น หอบหืด โรคหัวใจ โอกาสติด RSV แล้วอาการรุนแรงกว่าเด็กทั่วไป ต้องระวัง อย่าขาดยาประจำ ป่วยรีบมาพบแพทย์ 5. ล้างมือ สวมหน้ากาก รักษาระยะห่าง ป้องกัน RSV ไข้หวัดใหญ่ ปอดอักเสบได้ มาตรการเดียวกับการป้องกันโรคโควิด-19


สำหรับการรักษา

เป็นการรักษาตามอาการ ไม่มียาต้านไวรัสเฉพาะ ทั้งกินและฉีด ไม่มีวัคซีน การรักษาคือ พ่นยา ดูดเสมหะ ให้ออกซิเจน ให้สารน้ำ ยาลดไข้

ดู 88 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page