top of page
ค้นหา

สาเหตุที่ลูกตัวเหลือง แม่รู้ไหม!! มีมากกว่าที่คิด

เด็กแรกคลอดส่วนใหญ่มักจะมีอาการตัวเหลือง ซึ่ง สาเหตุที่ลูกตัวเหลือง ส่วนใหญ่จะเกิดจากการที่ตับยังทำงานไม่เต็มที่ แต่ทั้งนี้อาการตัวเหลืองก็จะหายไปเองในที่สุดภายใน 2 สัปดาห์ หรือหลังจากส่องไฟไม่กี่วัน จึงไม่น่ากังวลมากนัก แต่สำหรับเด็กบางคนนี่สิ ยังคงมีอาการตัวเหลืองอย่างต่อเนื่องและดูเหมือนว่าจะรุนแรงมากขึ้นอีกด้วย ซึ่งนั่นเป็นเพราะอะไร และจะมีวิธีรับมือกับอาการตัวเหลืองของลูกอย่างไร ไปดูกันเลย


สาเหตุที่ลูกตัวเหลือง ที่พ่อแม่ควรรู้และทำความเข้าใจ

ในบทความนี้เราจะมาพูดถึงสาเหตุอาการตัวเหลืองของลูก ที่เป็นสาเหตุผิดปกติ และพ่อแม่ไม่ควรนิ่งนอนใจเด็ดขาด เพราะอาจจะเป็นอันตรายต่อลูกน้อยได้หากปล่อยไว้นานๆ โดยมีหลายสาเหตุดังนี้

1.ภาวะตับอักเสบ

เพราะตับเป็นอวัยวะสำคัญที่จะทำหน้าที่ในการกำจัดบิลิรูบิน ที่เป็นสารทำให้เด็กตัวเหลือง ดังนั้นหากตับเกิดการอักเสบ จึงไม่สามารถที่จะกำจัดสารตัวนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นผลให้บิลิรูบินถูกสะสมไว้ในร่างกายเป็นจำนวนมาก จนทำให้เด็กมีอาการตัวเหลืองได้นั่นเอง ซึ่งทั้งนี้ภาวะตับอักเสบก็เป็นอันตรายอย่างมาก หากพบจะต้องรีบทำการรักษาโดยด่วน เพราะหากปล่อยไว้อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยทีเดียว แต่จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกอาจเป็นตับอักเสบหรือไม่สังเกตได้จากอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น มีไข้ ท้องโต ไม่ดูดนมและมีอาการซึม เป็นต้น

2.หมู่เลือดของแม่กับลูกไม่เข้ากัน

ในกรณีที่หมู่เลือดของแม่กับลูกไม่เข้ากันก็จะทำให้ลูกตัวเหลืองได้ เช่น แม่มีหมู่เลือด Rh- และลูกมีหมู่เลือด Rh+ แต่ส่วนใหญ่จากสาเหตุนี้จะพบได้น้อยมาก จึงไม่ค่อยน่ากังวลมากนัก

3.ภาวะบกพร่องเอนไซม์

เด็กบางคนอาจมีภาวการณ์บกพร่องของเอนไซม์ ทำให้เกิดการสะสมของอนุมูลอิสระขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยอนุมูลอิสระจะไปทำลายเม็ดเลือดแดงมากกว่าปกติ เป็นผลให้เด็กมีอาการตัวเหลืองนั่นเอง และมักจะพบในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผ็หญิงอีกด้วย ซึ่งหากเป็นเพราะสาเหตุนี้ควรพบแพทย์เพื่อทำการรักษาอย่างถูกต้อง

4.ภาวะพร่องไทรอยด์แต่แรกเกิด

ลูกตัวเหลืองอาจเกิดจากภาวะพร่องไทรอยด์ตั้งแต่แรกเกิด แต่ส่วนใหญ่ในเด็กแรกเกิดจะได้รับการตรวจภาวะพร่องไทรอยด์อยู่แล้ว ซึ่งก็จะได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อย่างไรก็ตามในเด็กที่มีอาการรุนแรงก็อาจจะมีอาการผิดปกติอื่นร่วมด้วย เช่น สะดือจุ่น กระหม่อมกว้างกว่าปกติ ลิ้นโตคับปาก เป็นต้น

5.ได้รับนมแม่น้อยกว่าปกติ

เพราะนมแม่มีสารอาหารสำคัญมากมาย และมีส่วนช่วยในการเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับลูก ดังนั้นในเด็กที่ได้รับนมแม่น้อยเกินไป จึงอาจทำให้เจริญเติบโตช้า อวัยวะต่างๆ ทำงานได้อย่างไม่ค่อยมีประสิทธิภาพมากนัก และเกิดอาการตัวเหลืองได้ในที่สุด ดังนั้นคุณแม่จึงควรให้ลูกดื่มนมแม่อย่างเพียงพอเสมอ และดูดเร็วที่สุดทันทีหลังคลอด


เมื่อลูกมีภาวะตัวเหลือง มีวิธีการดูแลอย่างไร

หากลูกมีอาการตัวเหลือง คุณแม่ควรดูแลลูกน้อยอย่างใกล้ชิด ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

1.พาลูกไปตรวจตามที่แพทย์นัดเสมอ โดยส่วนใหญ่หากพบว่าลูกตัวเหลืองตั้งแต่แรกเกิด ทางโรงพยาบาลจะพาเด็กไปส่องไฟรักษา และเมื่อกลับบ้านได้ก็จะนัดมาตรวจซ้ำอีกที

2.หากพบว่าลูกตัวเหลืองขึ้นผิดปกติ ควรรีบพาลูกไปโรงพยาบาลโดยด่วน เพราะเด็กบางคนหลังจากรักษาตัวเหลืองหายแล้ว ก็อาจตัวเหลืองขึ้นมาอีกได้ หรือบางคนอาจไม่ได้มีอาการตัวเหลืองตั้งแต่แรก จะมาเป็นในภายหลัง พ่อแม่จึงต้องคอยสังเกตให้ดีเสมอ

3.ควรให้ลูกดื่มนมแม่ให้ได้มากที่สุด และดูดนมอย่างถูกวิธีด้วย เพราะนมแม่จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับลูก พร้อมแก้อาการตัวเหลืองได้นั่นเอง

และนี่ก็คือสาเหตุที่ทำให้ลูกมีอาการตัวเหลืองได้นั่นเอง ดังนั้นเมื่อลูกตัวเหลืองอย่าได้ชะล่าใจ ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัด จะได้ทำการรักษาอย่างถูกวิธีและได้ผลลัพธ์ในการรักษาที่ดีที่สุด

ดู 7 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Kommentare


bottom of page