top of page
ค้นหา

การจัดกิจกรรมการเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กตามช่วงวัย

อัปเดตเมื่อ 5 ก.พ. 2563

การเล่นถือเป็นกิจกรรมสำคัญสำหรับเด็ก เปรียบเสมือนเป็นหน้าที่หลักของเด็ก ผู้ปกครองควรเข้าใจหน้าที่ของเด็กและคอยสนับสนุนจัดการการเล่นที่สอดคล้องกับความสามารถและทักษะของเด็กแต่ละวัย เพื่อช่วยส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการเหมาะสมตามวัยและอาจทำให้เด็กมีพัฒนาการที่ก้าวหน้าเกินวัยได้  



ช่วงวัยเด็กคือช่วงอายุ 1-12 ปี   เด็กในแต่ละช่วงอายุจะมีพัฒนาการที่แตกต่างกัน  ดังนั้นการเลือกกิจกรรมการเล่นให้เหมาะสมตามช่วงอายุ ผู้ปกครองจำเป็นต้องเข้าใจพัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็ก

การจัดกิจกรรมการเล่นที่เหมาะสมกับพัฒนาการตามช่วงอายุ

ช่วงอายุ 1-3 เดือน

พัฒนาการ

- เคลื่อนไหวร่างกาย แขนขาได้2ข้างเท่ากันสำรวจสิ่งต่างๆ รอบตัว  จ้องมองและเคลื่อนสายตา ตามวัตถุที่เคลื่อนที่ใช้มือคว้า เอื้อมหยิบ สิ่งของ อาจจับผิดบ้างถูกบ้างเพราะการประสานงานระหว่างกล้ามเนื้อตาและมือยังไม่สมบูรณ์

กิจกรรมการเล่น

- อุ้มสัมผัส  พูดคุยของเล่นกระตุ้นสายตา เช่น โมบายสีสดใส  กรุ๋งกริ๋งเขย่ามีเสียงดังให้ฟังเพลงบรรเลงเบาๆ

ช่วงอายุ 4-5 เดือน

พัฒนาการ

- เริ่มจำวัตถุและบุคคลได้- คอแข็ง พลิกคว่ำได้  ใช้แขนได้ดีขึ้น

- หมุนตัวหรือคืบไปข้างหน้าได้

- พยายามไขว่คว้าสิ่งของที่ต้องการด้วยตัวเอง

- ชอบถือของเล่นฟาดไปมา จับของเล่นเข้าปาก

- จับให้เด็กนั่งได้แต่ยังนั่งเองไม่ได้

กิจกรรมการเล่น

- ของเล่นที่ใช้มือจับ เขย่ามีเสียง  ต้องพิจารณาถึงความปลอดภัยในขณะเล่นด้วย เป็นของเล่นที่สามารถเอาเข้าปากได้โดยไม่เป็นอันตราย

- เล่นหยอกล้อ ให้หัวเราะ เด็กจะอารมณ์ดี

ช่วงอายุ 5-6 เดือน

พัฒนาการ

- เคลื่อนไหวได้คล่องขึ้น- สนใจสิ่งต่างๆ รอบตัว อยากรู้ อยากเห็น- อยากหยิบจับของทุกอย่างที่มองเห็น

- สามารถนั่งได้เอง จับยืนโดยเท้าสองข้างวางแนบพื้นได้

- เด็กบางคนจะร้องไห้เมื่อเห็นคนแปลกหน้า

กิจกรรมการเล่น

- ของเล่นที่จับแกว่งแล้วมีเสียงดัง- กล่องดนตรี

- ยางกัดนิ่มๆ- เล่นกับเงาตัวเองในกระจก

ช่วงอายุ 6-7 เดือน

พัฒนาการ

- นั่งพิงเก้าอี้ได้- นั่งตามลำพังได้

- มองของเล่นและพิจารณารายละเอียด

กิจกรรมการเล่น

- ของเล่นประเภทมีเสียง ชอบเพลงมีจังหวะ

- ตุ๊กตาล้มลุก ตุ๊กตาไขลาน- ชอบเพลงที่มีจังหวะ

ช่วงอายุ 7-8 เดือน

พัฒนาการ

- เริ่มซน คลานได้ ชอบปีนเก้าอี้ คลานขึ้นบันได ชอบรื้อของเล่นออกจากกล่อง

- ใช้มือปัดออกเมื่อไม่ต้องการสิ่งนั้น

- จะโกรธและร้องไห้เมื่อถูกแย่งของ

- ฟันเริ่มขึ้น

กิจกรรมการเล่น

- ของเล่นที่มีเสียง

- เริ่มสนใจสิ่งของภายในบ้าน

- ชอบเล่นของชิ้นใหญ่ เช่น ไม่ขนไก่ ที่ตักผง โทรศัพท์

- เด็กจะเลือกของเล่นเอง


ช่วงอายุ 8-9 เดือน

พัฒนาการ

- คลานได้คล่องขึ้น คลานไปไหนๆได้  ปีนป่ายสิ่งของต่างๆ ในบ้าน

- เริ่มเข้าใจความหมายของคำพูด เปล่งเสียงได้ เช่น หม่ำๆ

- เลียนแบบคำสั่งง่ายๆได้ เช่น สาธุ   บ๊ายบาย

กิจกรรมการเล่น

- ชอบเล่นจ๊ะเอ๋  

- ชอบเล่นที่เคาะแล้วมีเสียงดัง เช่น กลอง ระนาด

- เริ่มขยับตัวตามจังหวะเพลง


ช่วงอายุ 9-10 เดือน

พัฒนาการ

- เกาะยืน หรือเกาะเดินได้  ซนมากขึ้น ไม่นิ่ง

- สนใจสิ่งของทุกอย่างที่มองเห็น

- ชอบเลียนแบบท่าทางผู้ใหญ่

- เข้าใจคำว่า  ไม่  , อย่าทำ

กิจกรรมการเล่น

- สนใจสิ่งแวดล้อมภายในบ้าน เล่นเพราะต้องการสำรวจ หรืออยากรู้อยากเห็น ชอบเล่น ถ้วย ชาม ช้อน ขวดเครื่องสำอาง ปลั๊กไฟ**ผู้ปกครองควรพึงระวังเรื่องความปลอดภัยหรืออุบัติเหตุที่อาจเกิดจากการเล่นโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของเด็ก

ช่วงอายุ 10-11 เดือน

พัฒนาการ

- เกาะยืนเก่งขึ้น จะเริ่มปล่อยมือ ตั้งไข่

- เปิดบานประตูเล็ก เปิดลิ้นชักได้

- อยากทดลองทำทั้งๆ ที่รู้ว่าห้ามทำ

- เริ่มเรียก พ่อ แม่ ได้

กิจกรรมการเล่น

- บล็อก จับคู่ ค้อนตอกหมุดสี

- หนังสือภาพ

- กังหันลม เป่าฟองสบู่

ช่วงอายุ 11-12 เดือน

พัฒนาการ

- เริ่มก้าวเดิน ไต่ขึ้นบันไดได้เอง

- พูดเป็นคำๆ ได้ เช่น หมา ป้า ไป ไม่  บางคนอาจจะไม่พูดแต่ฟังรู้เรื่องเข้าใจความหมาย

- อยากรู้ อยากเห็นมากขึ้น

กิจกรรมการเล่น

- เล่นเชิงสำรวจ   ชอบเที่ยวนอกบ้าน

- สนามเด็กเล่น 

- รถลาก   ชิงช้า  ม้าหมุน  ม้าโยก


ช่วงอายุ 1-1.6 ปี

พัฒนาการ

- เดินได้เอง ถือถ้วยน้ำดื่มเองได้ ใช้ช้อนตักอาหารเข้าปากได้บ้าง

- ชอบเที่ยวนอกบ้าน

- เริ่มพูดได้หลายคำ เรียกชื่อคนใกล้ชิดได้

กิจกรรมการเล่น

- เรียนรู้นอกบ้าน สวนสัตว์

- ให้ฝึกพูดและจำภาพในสมุดภาพ

- เล่านิทานก่อนนอนให้ฟัง

- เล่นตุ๊กตารูปคน รูปสัตว์

- เล่นรถ นั่งบนรถที่ใช้ขายันไปข้างหน้า

ช่วงอายุ 1.6-2 ปี

พัฒนาการ

- เดินได้มั่นคง ขึ้นบันไดได้ วิ่งได้  เริ่มเดินถอยหลังได้

- เป็นตัวของตัวเองมากขึ้น พูดคุยรู้เรื่อง

- แสดงความเป็นเจ้าของในสิ่งของเครื่องใช้ของตน  รู้จักหวงของ

กิจกรรมการเล่น

- เครื่องเล่นกลางแจ้ง

- นิทานเสริมสร้างจินตนาการ

- ต่อบล็อกรูปทรงเรขาคณิต

- ขีดเขียนบนกระดาษ

- ปั้นดินน้ำมัน

- เต้นตามจังหวะเสียงเพลง

ช่วงอายุ 2-3 ปี

พัฒนาการ

- วิ่งได้เร็วขึ้น 

- ช่วยตัวเองได้มากขึ้น แต่งตัวได้บางส่วน ทานอาหารเองได้

- เริ่มจับดินสอเขียนได้ -

กิจกรรมการเล่น

- เล่นนอกบ้าน เล่นทราย เล่นน้ำ ปั่นจักรยานสามล้อ

- ต่อบล็อก- วาดรูประบายสี ดูการ์ตูน

- เล่นกับเพื่อนวัยเดียวกัน 

- มีจินตนาการสูง เริ่มเล่นบทบาทสมมุติ


ช่วงอายุ 3-4 ปี

พัฒนาการ

- มีพัฒนาการด้านความคิดและจินตนาการ

- ทำกิจวัตรประจำวันได้หลายอย่าง

- ชอบช่วยงานบ้าน

- อยากรู้อยากเห็น ขี้สงสัย มีคำถามมากขึ้น

- เล่าเรื่องสั้นๆ ได้

กิจกรรมการเล่น

- ของเล่นตามเพศ เพศชายเล่น หุ่นยนต์ รถยนต์   เพศหญิงเล่นตุ๊กตา  ชุดทำครัว

- ปั้นดินน้ำมัน

- เล่นเกมแบบมีกติกา

- ฝึกว่ายน้ำ  ถีบจักรยาน


ช่วงอายุ 4-5 ปี

พัฒนาการ

- ใช้แขน ขา ได้อิสระตามต้องการ  สามารถกระโดด ตีลังกา ยืนขาเดียว ว่ายน้ำเป็น ขี่จักรยาน 2 ล้อเป็น

- จดจำเครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ต่างๆ ได้แม่นยำ  รู้จัก วัน เวลา สี

- มีความฝันตามจินตนาการ

กิจกรรมการเล่น

- ร้องเพลง เสียงเพลง  กีฬา  ศิลปะ- บัตรภาพจับคู่

ช่วงอายุ 5-6 ปี

พัฒนาการ

- ทำกิจวัตรประจำวันได้

- มีความรับผิดชอบ รู้จักความอดทน รู้หน้าที่

- ทำกิจกรรมร่วมกับกลุ่มเพื่อนได้

- กล้าแสดงความคิดเห็นของตนเองได้

กิจกรรมการเล่น

- เล่นกับเพื่อนเป็นกลุ่ม เป็นทีม  เช่น วิ่งผลัด มอญซ่อนผ้า

ช่วงอายุ 6-9 ปี

พัฒนาการ

- เรียนรู้พฤติกรรมการเข้าสังคมได้ดี มีมารยาทและวัฒนธรรมทางสังคม

- ต้องการเป็นที่ยอมรับในกลุ่มเพื่อน

กิจกรรมการเล่น

- เล่นรวมกันทั้งเพศหญิงและชาย

- เล่นเกมที่มีแพ้ มีชนะ- กีฬากลางแจ้ง ขี่จักรยาน กระโดดเชือก  เตะบอล

ช่วงอายุ 10-12 ปี

พัฒนาการ

- ร่างกายเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาวะทางอารมณ์ด้วย

- เริ่มเป็นตัวของตัวเอง ชอบอิสระ ตัดสินใจเอง  ไม่ชอบให้ผู้ใหญ่ยุ่งเรื่องส่วนตัว

- เริ่มสนใจเพศตรงข้าม 

- มีความคิดริเริ่ม

- อ่านหนังสือได้ดีเท่าผู้ใหญ่

กิจกรรมการเล่น

- การเล่นลดลง

- ชอบการแข่งขันเป็นกลุ่ม

- เล่นกีฬาที่ต้องใช้ทักษะมากขึ้น

- เด็กชายสนใจเครื่องยนต์ กลไก

- เด็กหญิงชอบงานบ้าน งานฝีมือ

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้

ดู 6 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Commentaires


bottom of page