top of page
ค้นหา

วิธีป้องกัน อาการชักในเด็ก

ป้องกันอาการชักในเด็ก คุณแม่มือใหม่หลายคน นอกจากตื่นเต้นกับการได้เห็นหน้าลูกน้อยแล้ว สิ่งหนึ่งที่ตามมานั่นคือ เราจะดูแลลูกน้อยให้ดีได้อย่างไรนะ เพราะการดูแลเด็กเล็กนั้นไม่ใช้เรื่องง่าย ยิ่งหากเป็นคุณแม่ที่ต้องดูแลลูกน้อยแบบที่ไม่มีคุณตาคุณยายคุณปู่คุณย่า หรือคนในเครือญาติที่มีประสบการณ์มาคอยดูแลให้คำปรึกษาช่วยด้วยแล้ว เมื่อเกิดภาวะที่เราไม่เคยรู้มาก่อนจะรับมืออย่างไร



มาดูวิธี ป้องกันอาการชักในเด็ก กันค่ะ..


อาการชัก เป็นหนึ่งในอาการที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในเด็กทุกคน ยิ่งช่วงหน้าฝนการเจ็บป่วยเป็นไข้ย่อมมีมากขึ้น โดยอาการชักเป็นการแสดงออกถึงความผิดปกติของการทำงานของสมอง อาการชักที่เกิดขึ้นซ้ำๆ เรียกว่าโรคลมชัก หรือลมบ้าหมู โดยอาการชักในเด็กอาจเกิดได้จากหลายๆ สาเหตุ เช่น มีไข้สูง มีประวัติจากคนในครอบครัว การติดเชื้อของระบบประสาท ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ศีรษะได้รับการกระทบกระเทือน เป็นต้น


อาการชักในเด็ก มักเกิดขึ้นกับเด็กในช่วงวัย 6 เดือน – 6 ปี เนื่องจากสมองของเด็กวัยนี้กำลังเจริญเติบโต จึงมีความไวต่อการกระตุ้นจากการเป็นไข้ ส่วนใหญ่ประมาณ 75% ของเด็กจะชักเมื่อมีอาการไข้ขึ้นสูงตั้งแต่ 39 องศาเซลเซียสขึ้นไป

อาการชัก ที่สามารถสังเกตได้ชัดเจน คือ เหม่อลอยชั่วขณะ หมดสติทันทีร่วมกับอาการตัวอ่อน กระตุกเป็นครั้ง เกร็งผวา มีพฤติกรรมผิดปกติชั่วขณะ โดยที่ไม่มีการรับรู้ต่อสภาพแวดล้อม อาการชักเฉพาะที่ เช่น อาการกระตุกซ้ำๆเป็นต้น โดยมักจะเป็นร่วมกับอาการของโรคที่เป็นสาเหตุ เช่น เป็นหวัด, เจ็บคอ, ไอ, ท้องเสีย เป็นต้น


รับมืออาการชักเบื้องต้น คุณแม่คุณพ่อทั้งมือใหม่และมือเก่า ต้องตั้งสติให้ดีก่อน อย่าลนลานตกใจมากจนเกินไป เพราะจะทำให้ไม่สามารถทำอะไรที่ควรทำได้เร็วขึ้น โดยการรับมือกับอาการชักของลูกน้อย ทางที่ดีที่สุดคือ


1.การป้องกันอาการที่จะเกิดขึ้นด้วยวิธีง่าย ๆ เพราะการชักจะเกิดเมื่อลูกมีไข้สูง ฉะนั้นเมื่อลูกน้อยมีไข้ เราต้องเฝ้าดูแล และวัดไข้ลูกน้อยทุก ๆ 4-5 ชั่วโมง เพื่อจะได้รู้ระดับอาการซึ่งเมื่อพบว่าลูกน้อยมีไข้สูงให้เช็ดตัว โดยเฉพาะตามข้อพับต่างๆ หน้าอก แผ่นหลัง ตามด้วยให้ดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อลดความร้อน รวมถึงให้ทานยาแก้ไข้ตามเวลา และที่สำคัญคือ หากไข้ไม่ลดลงหรือมีอาการชักซ้ำ ให้รีบพาไปพบแพทย์ด่วน


2.จัดท่าให้ลูกน้อยอยู่ในลักษณะที่ปลอดภัยจากการชัก คือนอนราบตะแคงศีรษะไปด้านข้าง พยายามกำจัดน้ำลายหรือเศษอาหาร ที่ลูกน้อยอาจจะอาเจียนออกมาบริเวณภายนอกปาก

Sponsored

3.เมื่อลูกน้อยมีอาการชัก ห้ามสอดใส่วัสดุใด ๆ เข้าไปในปากหรือพยายามงัดปาก ในกรณีที่ลูกน้อยมีอาการไข้สูงร่วมต้องเช็ดตัวลดไข้ ซึ่งโดยทั่วไปอาการชักจากไข้ไม่เกิน 5 นาที และเมื่อลูกน้อยหยุดชักแล้ว ควรนำตัวเด็กพบแพทย์ เพื่อให้การวินิจฉัยและการรักษาต่อ


ทั้งนี้โรคลมชักแพทย์จะให้ทานยากันชักอย่างสม่ำเสมออย่างน้อย 2 ปี (หลังจากการชักครั้งสุดท้าย) และถ้าควบคุมอาการได้ แพทย์ก็จะค่อย ๆ ลดยาและหยุดยาลงภายใน 3-6 เดือน

======

ดู 21 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Kommentare


bottom of page