อัปเดต ตารางวัคซีน 2563 จาก กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข วัคซีนพื้นฐานของเด็กมีอะไรบ้าง ตัวไหนต้องฉีดตอนอายุเท่าไหร่
คุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายมาเช็คได้เลย ตารางวัคซีน 2563 กำหนดการให้วัคซีนตามแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ของ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 2020 ได้ถูกปล่อยออกมาแล้ว มาอัปเดตกันได้ว่า วัคซีนพื้นฐาน ของเด็กแรกเกิด ไปจนถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีอะไรบ้าง ตัวไหนต้องฉีดตอนอายุเท่าไหร่
การพาลูกไปฉีดวัคซีนเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรละเลย โดยเฉพาะสำหรับเด็กแรกเกิด ไปจนถึงเด็กประถมศึกษาปีที่ 6 หรืออายุประมาณ 12 ปี เพื่อเป็นการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และป้องกันโรคร้ายแรงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กได้
ตอนนี้ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ทำแผนงานเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค หรือตารางการให้วัคซีน เพื่อเป็นการสนับสนุนให้เด็กฉีดวัคซีนพื้นฐานฟรี โดยในปัจจุบันวัคซีนพื้นฐานของเด็ก สามารถควบคุมโรคร้ายต่าง ๆ ได้มากกว่าสิบโรค ได้แก่
วัคซีนวัณโรคหรือวัคซีนบีซีจี
วัคซีนโรคไวรัสตับอักเสบชนิดบี
วัคซีนโรคคอตีบ
วัคซีนโรคไอกรน
วัคซีนโรคบาดทะยัก
วัคซีนโรคโปลิโอที่มีทั้งแบบชนิดรับประทานและชนิดฉีด
วัคซีนโรคหัด
วัคซีนโรคหัดเยอรมัน
วัคซีนโรคคางทูม
วัคซีนโรคไข้สมองอักเสบเจอี
วัคซีนโรคเอชพีวี
วัคซีนโรคฮิบ
วัคซีนโรต้า
กำหนดการฉีดวัคซีนให้เด็กตามอายุ ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 12 ปี
วัคซีนที่ให้เด็กแรกเกิด
HB1 วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบบี (ควรให้เร็วที่สุดภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด)
BCG วัคซีนป้องกันวัณโรค (ฉีดให้เด็กก่อนออกจากโรงพยาบาล)
วัคซีนที่ให้เด็กอายุ 1 เดือน
HB2 วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบบี (เฉพาะรายที่คลอดจากแม่ที่เป็นพาหะของไวรัสตับอักเสบบี)
วัคซีนที่ให้เด็กอายุ 2 เดือน
DTP-HB-Hib1 วัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ตับอักเสบบี ฮิบ
OPV1 วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดรับประทาน
Rota1 วัคซีนโรต้า (ห้ามให้วัคซีนโรต้าครั้งที่ 1 ในเด็กอายุมากกว่า 15 สัปดาห์)
วัคซีนที่ให้เด็กอายุ 4 เดือน
DTP-HB-Hib2 วัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ตับอักเสบบี ฮิบ
OPV2 วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดรับประทาน
IPV วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดฉีด (ให้วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดฉีด 1 เข็ม พร้อมกับวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดรับประทาน 1 ครั้ง)
Rota2 วัคซีนโรต้า (ห้ามให้วัคซีนโรต้าครั้งสุดท้าย ในเด็กอายุมากกว่า 32 สัปดาห์)
วัคซีนที่ให้เด็กอายุ 6 เดือน
DTP-HB-Hib3 วัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ตับอักเสบบี ฮิบ
OPV3 วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดรับประทาน
Rota3 วัคซีนโรต้า
วัคซีนที่ให้เด็กอายุ 9 เดือน
MMR1 วัคซีนรวมป้องกันโรคหัด คางทูม หัดเยอรมัน (หากไม่ได้ฉีดเมื่ออายุ 9 เดือน ให้รีบติดตามฉีดโดยเร็วที่สุด)
วัคซีนที่ให้เด็กอายุ 1 ปี
LAJE1 วัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอีชนิดเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์
วัคซีนที่ให้เด็กอายุ 1 ปี 6 เดือน
DTP4 วัคซีนรวมป้องการโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน
OPV4 วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดรับประทาน
วัคซีนที่ให้เด็กอายุ 2 ปี 6 เดือน
LAJE2 วัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอีชนิดเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์
MMR2 วัคซีนรวมป้องกันโรคหัด คางทูม หัดเยอรมัน
วัคซีนที่ให้เด็กอายุ 4 ปี
DTP5 วัคซีนรวมป้องการโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน
OPV5 วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดรับประทาน
วัคซีนที่ให้เด็กประถมศึกษาปีที่ 1 (ตรวจสอบประวัติและเก็บตกวัคซีน)
MMR วัคซีนรวมป้องกันโรคหัด คางทูม หัดเยอรมัน
HB วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบบี
LAJE วัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอีชนิดเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์
IPV วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดฉีด
dT วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัด
OPV วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดรับประทาน
BCG วัคซีนป้องกันวัณโรค
วัคซีนที่ให้เด็กประถมศึกษาปีที่ 5 (เฉพาะผู้หญิง)
HPV1 และ HPV2 วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกจากเชื้อเอชพีวี
วัคซีนที่ให้เด็กประถมศึกษาปีที่ 6
dT วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัด
สำหรับเด็กที่มารับวัคซีนล่าช้า
วัคซีนทุกชนิด ถ้าไม่สามารถเริ่มให้ตามกำหนดได้ ก็เริ่มให้ทันทีที่พบครั้งแรก
สำหรับวัคซีนที่ต้องให้มากกว่า 1 ครั้ง หากเด็กมารับวัคซีนครั้งต่อไปล่าช้า สามารถให้วัคซีนครั้งต่อไปได้โดยไม่ต้องเริ่มต้นครั้งที่ 1 ใหม่
กรณีให้วัคซีนแก่ผู้ที่ได้รับวัคซีนไม่ครบถ้วนหรือล่าช้า เด็กจะได้รับวัคซีนตามกำหนดครบภายในระยะเวลา 1 ปี จากนั้นให้วัคซีนต่อเนื่องตามที่กำหนดในกำหนดการให้วัคซีนปกติ
สถานที่ขอรับวัคซีนพื้นฐาน
การรับการฉีดวัคซีนเด็ก สามารถพาลูกหลานไปรับได้ที่คลินิกเด็กทั่วไป เทศบาลในท้องถิ่นบางแห่ง และโรงพยาบาล ถึงแม้ว่าเด็กจะมีอาการน้ำมูกไหล หรือเป็นหวัดเล็กน้อยก็ยังสามารถรับวัคซีนได้ โดยผลข้างเคียงจากวัคซีนอาจมีบ้าง แต่ก็เป็นเพียงเล็กน้อยและใช้เวลาไม่นานก็จะหายไป หากสงสัยควรปรึกษาแพทย์หรือสอบถามแพทย์ผู้ให้บริการเพิ่มเติม
การฉีดวัคซีนเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเด็กอย่างมาก และเป็นสิ่งที่ทางการแพทย์ได้วิจัยมาเป็นอย่างดีแล้วว่า เด็กแรกเกิดจนถึงอายุ 12 ปี ควรได้รับวัคซีนตามช่วงเวลาที่กำหนดไว้จึงจะได้ผลสูงสุด ดังนั้น ถ้าเด็กไม่ได้ฉีดวัคซีนตามกำหนด อาจทำให้ลูกได้รับวัคซีนไม่ครบและเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายแรงจนไม่อาจรักษาได้
ฉะนั้นผู้ปกครองจึงไม่ควรเลื่อนนัดแพทย์ หากไม่ติดเหตุจำเป็นสุดวิสัยจริงๆ นอกจากนี้ ผู้ปกครองอาจพิจารณาให้วัคซีนอื่นๆ ที่ไม่ได้รวมอยู่ในโปรแกรมมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุขด้วย เช่น ไวรัสตับอักเสบเอ อีสุกอีใส ไข้หวัดใหญ่ โรคท้องร่วงจากไวรัสโรต้า มะเร็งปากมดลูก ไข้นิวโมคอคคัส ไข้ฮิบ
コメント