top of page
ค้นหา

7 เรื่องเกี่ยวกับโรค RSV ที่พ่อเเม่ต้องรู้


อาการป่วยมักเกิดขึ้นได้อยู่เสมอ โดยเฉพาะเมื่อเกิดกับเด็กเล็กจะทำให้มีอาการที่รุนแรงมากกว่าวัยอื่น ซึ่งในช่วงนี้มีโรคติดเชื้อที่มาจากเชื้อไวรัส RSV กำลังระบาด เรามาทำความรู้จักเกี่ยวกับโรคนี้กันดีกว่าว่ามีความร้ายแรงต่อลูกน้อยอย่างไร มีวิธีการรักษาได้หรือไม่ ซึ่งคุณแม่ควรศึกษาข้อมูลไว้เพื่อจะได้ป้องกันและรับมือถูกวิธีเมื่อลูกน้อยป่วยนั่นเอง


7 เรื่องต้องรู้ เกี่ยวกับโรค Rsv สำหรับเรื่องที่คุณแม่จะต้องรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรค Rsv ก็มีดังนี้ 1.RSV โรคนี้เกิดจากอะไร การเกิดโรคไวรัส RSV ที่พบในเด็กส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสRespiratory Syncytial Virus ซึ่งเด็กอาจจะได้รับเชื้อมาจากผู้ที่มีเชื้อไวรัส RSV อยู่ในร่างกาย โดยการสัมผัสกับสารคัดหลั่งของผู้ป่วย อาจจะเป็นละอองน้ำมูก น้ำลาย การไอ หรือจาม รวมถึงการสัมผัสกับเด็กด้วยการหอมแก้ม หรือจับมือเด็กแล้วเด็กนำมือไปเข้าปาก แคะจมูก หรือขยี้ตา ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กเล็กมีโอกาสได้รับเชื้อจากผู้ใหญ่ได้เช่นกัน 2.อาการที่บ่งบอกว่าลูกอาจเป็นโรคนี้ เมื่อเด็กได้รับเชื้อไวรัส RSV เข้าสู่ร่างกายมีใช้ระยะเวลาในการฟักตัวของเชื้อประมาณ 5 วัน ซึ่งในช่วง 2-4 วันแรกเด็กอาจจะมีอาการคล้ายกับการเป็นไข้หวัดธรรมดา คือมีไข้ ไอ จาม มีน้ำมูกไหล หลังจากนั้นจะมีอาการอักเสบของระบบทางเดินหายใจส่วนล่างคือ - มีไข้ พร้อมกับมีอาการไออย่างรุนแรง - หายใจลำบาก มีอาการเหนื่อยหอบเพราะหลอดลมอักเสบ และมีกล่องเสียงอักเสบร่วมด้วย - เกิดการอักเสบที่ปอด และอาจมีไข้สูงมากกว่า 39 องศา ในบางรายเมื่อหายใจมีเสียงครืดคราด เพราะมีเสมหะมาก - เมื่ออาการของโรครุนแรงขึ้น เด็กมีอาการซึมลงไปอย่างเห็นได้ชัด กินอาหารหรือนมน้อยลง ปากและปลายนิ้วซีดเขียว ซึ่งบ่งบอกว่าเป็นอาการรุนแรงเพราะขาดออกซิเจน จนอาจทำให้เกิดระบบทางเดินหายใจล้มเหลวถึงขั้นเสียชีวิตได้ 3.RSV เป็นโรคติดต่อไหม การติดต่อของโรคสามารถแพร่การจายจากผู้ป่วยไปยังบุคคลอื่นด้วยการฟุ้งกระจายของละออง น้ำมูก น้ำลาย จากการไอหรือจาม รวมถึงการสัมผัสหยิบจับสิ่งของที่มีการปนเปื้อนสารคัดหลั่งจากผู้ป่วย แล้วมีการนำมือมาป้ายบริเวณหู ตา จมูกและปาก ก็ทำให้มีโอกาสได้รับเชื้อโรคได้ เชื้อไวรัส RSV สามารถมีชีวิตอยู่นอกร่างกายได้นานหลายชั่วโมงซึ่งอาจจะแฝงตัวอยู่ในที่ใดที่หนึ่ง เมื่อเด็กไปหยิบจับสัมผัสแล้วมาจับต้องตัวเองก็มีโอกาสติดเชื้อได้ทั้งสิ้น 4.อันตรายจากโรค RSV เมื่อเด็กติดเชื้อไวรัส RSV แล้วควรได้รับการดูแลรักษาตามอาการ ในรายที่มีการติดเชื้อที่ปอดจะทำให้ปอดบวม หรือปอดอักเสบ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีก็จะทำให้เกิดเสียชีวิตจากระบบทางเดินหายใจล้มเหลวได้ 5.ลูกเป็น RSV ต้องรักษายังไง เนื่องจากไวรัส RSV ยังไม่มีวัคซีนสำหรับป้องกันและรักษา จำเป็นต้องรักษาตามอาการ คือ - มีไข้ให้กินยาลดไข้ทุก 4-6 ชั่วโมง รวมถึงการเช็ดตัวเพื่อให้ไข้ลด และให้นอนหลับพักผ่อนมากๆ จะทำให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็วขึ้น - ควรให้เด็กดื่มน้ำบ่อยๆ หากเป็นเด็กทารกก็ควรป้อนนมแม่บ่อยขึ้น - หากกินยาแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น และการติดเชื้อดำเนินไปถึงวันที่ 4 แล้วจะทำให้มีอันตรายให้รีบนำเด็กไปโรงพยาบาลเพื่อแพทย์จะได้ทำการรักษาตามอาการ รวมถึงการให้น้ำเกลือและยาขยายหลอดลม ซึ่งหากมีเสมหะมากก็แพทย์อาจจะใช้วิธีพ่นยา รวมถึงการเคาะปอด และดูดเสมหะออกจากปอด - หากติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเป็นอาการแทรกซ้อนแพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อ - ในรายที่มีภาวะขาดออกซิเจนจะได้รับการใส่เครื่องช่วยหายใจเพื่อให้การหายใจสะดวกขึ้น 6.ดูแลลูกอย่างไรให้ห่างไกลจากโรคนี้ การดูแลลูกให้ห่างไกลจากไวรัส RSVทำได้ดังนี้ - ก่อนอุ้มเด็กควรล้างมือด้วยน้ำสบู่ทุกครั้งจนสะอาดทุกครั้ง - ในเด็กที่ยังช่วยเหลือตัวเองไม่ได้คุณแม่ควรล้างมือให้เด็กบ่อยๆ ควรการทำความสะอาดข้าวของเครื่องใช้ ของเล่นเด็กและแยกของใช้ส่วนตัวเด็กไม่ให้ปะปนกับผู้อื่น รวมถึงการระมัดระวังไม่ให้เด็กนำมือมาเข้าปากด้วย - ไม่นำเด็กไปในที่ชุมชนแออัด หรือที่มีความเสี่ยงต่อการติดต่อของเชื้อโรค เด็กที่อยู่ในวัยเข้าเรียนแล้วถ้าติดเชื้อ RSVจำเป็นต้องรักษาให้หายดีก่อนแล้วจึงไปโรงเรียน เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อโรคไปยังเด็กคนอื่น - หากจำเป็นต้องนำเด็กออกนอกบ้านหรือไปในสถานที่มีความเสี่ยง ควรใส่หน้ากากอนามัยให้เด็ก และพกเจลล้างมือไปด้วยเสมอ - หลีกเลี่ยงการจูบและหอมแก้มเด็ก การระมัดระวังไม่ให้ผู้ใหญ่จับแก้มเด็ก รวมถึงการจับตัวเด็กหากยังไม่ได้ล้างมือให้สะอาดก่อน 7.พบในเด็กวัยไหนมากที่สุด เชื้อไวรัส RSV ส่วนใหญ่จะระบาดในกลุ่มเด็กเล็กตั้งแต่ทารกแรกเกิดจนถึงวัย 3 ขวบ ส่วนวัยอื่นก็มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อและป่วยได้เช่นกัน แต่ในวัยต่ำกว่า 3 ขวบเมื่อเป็นแล้วจะมีความรุนแรงมากกว่าที่พบในเด็กวัยอื่น ไวรัส RSV มีเชื้อหลายกลุ่ม เมื่อเด็กเป็นครั้งแรกแล้ว มีโอกาสเป็นได้อีกเช่นเดียวกับเชื้อไข้หวัด แต่ความรุนแรงของเชื้อชนิดที่เด็กเคยได้รับ เมื่อเป็นซ้ำจะมีความรุนแรงน้อยกว่าการเป็นครั้งที่ผ่านมา ทั้งนี้การป้องกันไม่ให้ลูกได้รับเชื้อจะเป็นวิธีที่ดีทีสุด

ดู 209 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page